ผมทำธุรกิจนี้มาสามปีกว่าพอจะเห็นมุมมองของธุรกิจเทรดดิ้ง
นำเข้าส่งออก จึงนำมาเขียนให้ผู้อ่านเห็นว่าเทรดเดอร์นั้นต้องทำอะไรบ้างครับ
1.
การหาความต้องการตลาด
เทรดเดอร์ต้องหูไวตาไว
รู้ทันตลาดว่าใครต้องการอะไรที่ไหนเมื่อไหร่อย่างไร ถ้าเราต้องการทำเป็นเทรดเดอร์
เราต้องขยันตามตลาดและตามเทรนด์ หมั่นติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
2.
การหาแหล่งสินค้า
ข้อนี้ถือเป็นตัววัดความชี้เป็นชี้ตายของเทรดเดอร์เลย
ถ้าลูกค้าหรือตลาดต้องการสินค้านี้แล้ว เราหาสินค้ามาสนองให้ไม่ได้
หรือราคาสู้คนอื่นไม่ได้ เราก็จะไม่ใช่เทรดเดอร์ที่ลูกค้าอยากได้อีกต่อไป
เทรดเดอร์ต้องหมั่นเดินทางเสาะหาติดต่อผูกมิตรกับผู้ผลิตไว้
เพื่อให้ตัวเองมีสินค้าเพื่อสนองความต้องการ
3.
การเจรจาต่อรอง
การเป็นคนกลางนั้นไม่มีอะไรง่าย
เพราะต้องแบกรับความต้องการของทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อ
รวมถึงต้องพยายามบริหารจัดการให้ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี
เราอาจจะมองว่าการเป็นคนกลางนั้นง่าย แค่สั่งแค่พูด
แต่จริงแล้วไม่ง่ายเลยที่จะทำให้ทุกอย่างออกมาราบรื่น
4.
การขายสินค้าและการบริหารจัดการช่องทางจัดจำหน่าย
เมื่อได้สินค้ามาแล้วเทรดเดอร์ก็ต้องมีหน้าที่ไปนำเสนอลูกค้า เทรดเดอร์บางรายที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
มีงานหลักที่ต้องขายสินค้าให้ได้ ช่องทางจัดจำหน่ายก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะพวกเขาคือผู้ขายสินค้า
เป็นผู้นำรายได้มาให้เรา
5.
การจัดการการขนส่งและเอกสาร
เมื่อได้รับคำสั่งซื้อแล้ว
เทรดเดอร์มีหน้าที่ประสานงานกับผู้ผลิตให้ผลิตและจัดส่งสินค้าได้ตามต้องการ ประหนึ่งแหมือนเป็นตัวแทนลูกค้ามาติดตามงานจากโรงงาน
รวมถึงจัดหาพาหนะ จองรถจองเรือ ทำเอกสารที่จำเป็นในการใช้ส่งออกและใบอนุญาตต่างๆ รวมถึงเอกสารสัญญาทางการค้าอีกด้วย
6.
การจัดการการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน
เทอมการค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำการค้า
ลูกค้าเราอยู่คนละประเทศกับเรา ห่างไกลกัน
ระบบการชำระเงินหรือการทำการค้าก็ไม่เหมือนกัน ยิ่งทำให้ยากขึ้น
การบริหารการเงินจำเป็นมาก ลองคิดดูว่าเกิดเราโชคร้ายถูกลูกค้าชักดาบ ไม่จ่ายเงิน
เราต้องขายสินค้ากี่ล็อตจึงจะคืนทุน
เรื่องการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนก็เหมือนกัน
เคยมีพี่ท่านนึงถามผมว่าทำไมผมไม่ยอมทำ Forward อัตราแลกเปลี่ยนไว้
ถ้าออเดอร์หนึ่งล้านบาท ถ้าผิดไป 1 % ก็เป็นเงินหนึ่งหมื่นบาทแล้ว
7.
การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
ว่ากันว่าสต็อกเป็นสิ่งสำคัญ
ในหลายรายที่แบกสต็อกตัวเองก็ต้องบริหารเงินของตัวเองที่จมอยู่กับสต็อกให้ดี
ให้เพียงพอต่อความต้องการลูกค้าและตัวเองประหยัดค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หรือจะให้ดี
ให้ทำธุรกิจแบบไม่ต้องแบกสต็อกจะดีที่สุด
8.
การทำตลาดและการสร้างแบรนด์
การทำตลาดก็เป็นอีกเรื่องที่มีประโยชน์ในการทำธุรกิจเทรดดิ้ง
เพราะในเมื่อวันนึงลูกค้าเราอาจจะรู้แหล่งผลิตของเรา
แต่หากเรามีแบรนด์ที่อยู่ในใจผู้บริโภคอยู่แล้ว และเป็นของเรา
ลูกค้าก็ยากที่จะตัดเราออกจากระบบ
9.
เน็ตเวิร์คและคอนเน็คชั่น
ข้อสุดท้ายนี้ผมหมายถึงการที่เรามีเพื่อนในวงการเดียวกัน
หน่วยงานราชการ หรือเป็นสมาชิกสมาคมในธุรกิจที่เราทำอยู่นั้น
จะมีประโยชน์กับเราทั้งสิ้น
ยุคนี้เป็นยุคของการร่วมมือกันเพื่อแบ่งกันทำมาหากินมากกว่าต่อสู้กันอีกแล้ว
หวังว่าบทความนี้จะทำให้ท่านเห็นภาพธุรกิจเทรดดิ้งมากขึ้น
และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงมือเข้าสู่สนามการค้าระหว่างประเทศนะครับ
#KAL #YESCLUB
#นำเข้าส่งออก
ใครเป็นใครในตลาดส่งออก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น