วันนี้ผมจะมาสรุปนะครับว่า SME ไทยต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง
อันนี้เป็นกลยุทธ์ที่ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานรัฐเคยให้แนวทางไว้สำหรับ SMEs
ในการปรับตัวนะครับ
เราเริ่มกันเลย
1.
หาคู่ค้า พันธมิตร
ในเมื่อเราจะต้องเจอคนที่ทำธุรกิจแบบเดียวกับเราเข้ามากันมากขึ้น
การปรับตัวอาจจะไม่ลงเอยที่การแข่งขันเสมอไป เราสามารถหาคู่ค้า พันธมิตร (Partner)
จากต่างประเทศที่เค้ามีศักยภาพและพอๆ
กับเรา เมื่อร่วมมือกันแล้วทำให้ต่างคนต่างแข็งแกร่งได้ ในการหาพันธมิตรนั้นมีข้อดีคือเป็นการกีดกันคู่แข่งกลายๆ
เข้าทำนองว่าแบ่งกันกินแบ่งกันรวย นอกจากนี้เรายังสามารถ SMEs เล็กๆ
ก็เริ่มจากการหาพันธมิตรเล็กๆ ไปก่อน หาคนที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกันพร้อมกับเรา
2.
หาแหล่งวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตใหม่
การรวมกลุ่มกับประเทศ CLMV เข้ามานั้น เราจะสามารถทำให้สินค้าเรามีต้นทุนที่ถูกลงด้วยการกระจายการผลิตไปสู่ประเทศที่มีต้นทุนถูกกว่านั่นเอง
ยกตัวอย่างโรงงานปลาหมึกแห่งหนึ่ง เปลี่ยนฐานการผลิตไปประเทศเวียตนาม
เนื่องจากที่นั่นมีแหล่งวัตถุดิบชั้นดี มีปลาหมึกเป็นจำนวนมาก
เมื่อจับได้เสร็จก็แปรรูปที่นั่นเลย เสร็จแล้วส่งชิ้นอาหารมาแบ่งบรรจุที่ประเทศไทย
แล้วมาทำการกระจายสินค้าที่กรุงเทพฯ เป็นต้น
3.
เปลี่ยนโมเดลการทำธุรกิจ
เป็นเทรดเดอร์รวมถึงไปลงทุนในต่างประเทศ
ผมเห็นผู้ส่งออกที่เป็นโรงงานหลายๆ แห่ง
เปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจโดยการทำตัวเป็นเทรดเดอร์ซะเอง ในเมื่อไปเปิดตลาดต่างประเทศแล้วไม่หยุดอยู่แค่นั้น
บริษัทเหล่านั้นก็ทำตัวเป็นเทรดเดอร์ รับสินค้าอื่นๆ จากไทยไปขาย
และยังนำสินค้าจากประเทศนั้นๆ เข้ามาขายในไทยอีกต่างหาก
นอกจากนี้จากเดิมที่เราเคยแค่ลงทุนแต่ในประเทศไทย
เราก็สามารถขยายการลงทุนไปที่ต่างประเทศได้อีกด้วย การที่ท่านไปเปิดโรงงานผลิตในประเทศอื่นๆ
ที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีก็จะทำให้ท่านสามารถส่งออกสินค้าไปประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ
ได้อีกด้วย
4.
คำนึงถึงลูกค้าเพื่อนบ้านมากขึ้น
ต่อจากนี้การทำธุรกิจอะไรก็ต้องคำนึงถึงประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วย
ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจท่องเที่ยว
ก่อนหน้านี้ฝรั่งที่เที่ยวเมืองไทยจะมาลงที่กรุงเทพฯ แล้วซื้อทัวร์ไปต่อที่พัทยา
อยุธยา หรือบินไปเชียงใหม่ ภูเก็ต
แต่เดี๋ยวนี้นักท่องเที่ยวสามารถหาทัวร์ไปเที่ยวลาว กัมพูชาได้ที่กรุงเทพฯ
หรือพัทยา
การสร้างผลิตภัณฑ์อาจจะต้องทำแพ็กเกจจิ้งให้มีหลายภาษาด้วย
เพื่อจะได้ขายทีเดียว เช่น ภาษาไทย อังกฤษ เวียตนาม หรือภาษาจีน
และจะมีสินค้าใหม่ๆ จากทุกประเทศเข้ามาในไทยมากขึ้น
การต้อนรับลูกค้า
พนักงานอาจจะต้องรู้จักภาษาของลูกค้า
ที่ใช้ในการทักทายหรือคำศัพท์เบื้องต้นมากขึ้น หรืออย่างน้อยร้านขายอาหารทั่วไป
พนักงานก็ควรจะพูดภาษาอังกฤษได้ (นึกภาพตอนเราไปสั่งอาหารที่ฮ่องกง
คนที่นั่นจะพูดได้ทั้งจีนและอังกฤษ)
5.
สร้างตลาดใหม่กับลูกค้ากลุ่มที่ใหญ่ขึ้น
ในบรรดาประเทศอาเซียนนั้น แม้จะต่างภาษาต่างวัฒนธรรม
แต่ยังมีบางอย่างที่เป็นความต้องการคล้ายๆ กัน สามารถรวมเป็น segment หรือตลาดกลุ่มเดียวกันได้
เช่น อาหารฮาลาล คนมุสลิมไม่ได้มีเฉพาะในไทย ยังมีทั้งในมาเลเซีย สิงคโปร์
อินโดนีเซียและบรูไน หรือการบริการท่องเที่ยว
เราอาจจะดึงดูดนักท่องเที่ยวมาไนไทยได้อีกมากมาย
6.
ทำตลาดโดยใช้ช่องทางการค้าชายแดนให้มากขึ้น
การค้าชายแดนที่นับวันจะเติบโตขี้นเรื่อยๆ
และกลายเป็นตลาดสำคัญสำหรับสินค้าส่งออกไทย นอกจากช่องทางที่เอื้ออำนวยแล้ว
ภาพลักษณ์สินค้าไทยในสายตาประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม CLMV ก็ดีมากๆ ด้วย
คนที่นั่นรับรู้ว่าสินค้าไทยดี
มีคุณภาพและราคาไม่แพงเมื่อเที่ยบกับสินค้าจากประเทศอื่น
ส่วนสินค้าจีนถูกมองว่าเป็นอีกเกรดนึง นอกจากนี้สื่อต่างๆ
ในบ้านเราก็มีอิทธิพลต่อลูกค้ากลุ่มนี้มากพอสมควร
หากท่านวางแผนที่จะจับตลาดใหญ่ขึ้นการใช้สื่อเหล่านี้ก็มีประโยชน์ต่อสินค้าท่านมากเหลือเกิน
อ่านมาแล้ว 5 ตอน ผมหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านในการปรับตัวรับมือกับ
AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้านี้ครับ
#KAL #YESCLUB
#ส่งออก #เทรดดิ้ง #การค้าระหว่างประเทศ #ออนไลน์ #หอการค้า #นำเข้าส่งออก
#AEC
AEC กับ SME ไทย ตอนที่ 1 ภาพรวมและผลกระทบ
http://www.yesclubbusiness.com/2014/10/aec-sme-1.html
AEC กับ SME ไทย ตอนที่ 2 แต่ละประเทศเตรียมตัวกันอย่างไร (กลุ่มอาเซียนเดิม)
http://www.yesclubbusiness.com/2014/10/aec-sme-2.html