12 วิธีการลดหย่อนภาษีกันอย่างง่ายๆ

สำหรับคนทำงานประจำหรือผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ หากมีรายได้เข้ามาในกระเป๋าเรา ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับทางสรรพากร ไม่ต้องหาทางไปโกงเค้า เพราะส่วนใหญ่แล้วเค้าเจอแน่ๆแล้วก็อายุความมีย้อนหลังไปได้หลายปี จึงไม่คุ้มเท่าไหร่ถ้าจะไปหนีภาษี แต่ถ้าลดหย่อนภาษีนี่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นการเอาเงินภาษีคืนที่เราจ่ายคืนไปเอาคืนมา ซึ่งถ้าวางแผนดีๆปีๆนึงก็ได้หลายตังค์อยู่นะครับ เรามาดูกันดีกว่าว่าทำยังไงได้บ้างครับ
1. หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 30,000 บาท ทางสรรพากรใจดีลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้ถึง 30,000 บาทไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันหรือไม่ ส่วนนี้จะได้ลดหย่อนทุกคน
2. หักค่าใช้จ่ายลดหย่อนคู่ครองซึ่งต้องเป็นคู่สมรสที่ถูกกฎหมายนะครับ จะได้ลดหย่อนอีก 30,000 บาท
3. ถ้ามีลูกก็จะได้ลดหย่อนอีกคนละ 15,000 บาท ได้สูงสุด 3 คน และลูกที่จะได้สิทธิลดหย่อนต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
4. ได้ลดหย่อนการศึกษาลูกอีก 2,000 บาทต่อคน ได้สูงสุด 3 คนเช่นกัน
5. ประกันชีวิตที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี ได้ลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท
6. ประกันชีวิตแบบบำนาญ ได้ลดสูงสุด 200,000 บาท
7. กองทุน LTF/RMF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวม
8. เงินกองทุนเลี้ยงชีพ ได้ไม่เกิน 500,000 บาท
9. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท ถ้าเกิดมีการผ่อนบ้าน คอนโดจะเอาส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมาลดหย่อน ไม่ใช่ส่วนที่ผ่อนไปนะครับเพราะผ่อนไปมีเงินต้นติดไปด้วย
10. เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม มากสุดอยู่ที่ 750 บาท/เดือน ปีนึงก็ 9,000 บาท
11. เงินลดหย่อนบิดามารดา กรณีบิดามารดาอายุเกิน 60ปีและไม่มีรายได้ ได้ลดหย่อนท่านละ 30,000 บาท
12. เงินบริจาคการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
13. เงินบริจาค เมื่อหักลดหย่อนต่าง ๆ หมดแล้ว เหลือเท่าใดให้หักลดหย่อนได้อีกสำหรับ เงินบริจาค เงินบริจาคที่หักค่าลดหย่อนได้นั้นผู้มีเงินได้ต้องบริจาคเป็นเงินให้แก่การกุศลสาธารณะ โดยหักได้ เท่าจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว
14. หากสามีภรรยาทั้งคู่มีรายได้เยอะ อาจลองเปรียบเทียบการแยกยื่นภาษีดู หรือว่าหากมีรายได้จากคนเดียวและมีการลงทุนในหุ้นด้วย อาจลองเอาคนที่ไม่มีรายได้เป็นเจ้าของพอร์ตหุ้นแทนเพราะเงินปันผลที่ได้มาจะได้เครดิตภาษีคืนได้อีก
15. เครดิตภาษีจากเงินปันผล (กรณีที่มีปันผลจากหุ้น)
หลักการลดหย่อนไม่ได้เอาเงินจำนวนนี้ไปลดหย่อนโดยตรงกับภาษีที่ต้องเสียนะครับ แต่เอาไปลดกับรายได้รวมที่เราได้ทั้งหมดทั้งปีครับ บางคนเข้าใจว่าลดหย่อนได้เท่านั้นเท่านี้เอาไปลบกับภาษีเลย อันนี้ไม่ใช่นะครับ เป็นยังไงบ้างครับ จะสิ้นปีกันแล้วยังไงอย่าลืมวางแผนลดหย่อนภาษีนะครับ
Mr.N
#yesclub #ลดหย่อนภาษี #วางแผนภาษี
1. หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 30,000 บาท ทางสรรพากรใจดีลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้ถึง 30,000 บาทไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันหรือไม่ ส่วนนี้จะได้ลดหย่อนทุกคน
2. หักค่าใช้จ่ายลดหย่อนคู่ครองซึ่งต้องเป็นคู่สมรสที่ถูกกฎหมายนะครับ จะได้ลดหย่อนอีก 30,000 บาท
3. ถ้ามีลูกก็จะได้ลดหย่อนอีกคนละ 15,000 บาท ได้สูงสุด 3 คน และลูกที่จะได้สิทธิลดหย่อนต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
4. ได้ลดหย่อนการศึกษาลูกอีก 2,000 บาทต่อคน ได้สูงสุด 3 คนเช่นกัน
5. ประกันชีวิตที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี ได้ลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท
6. ประกันชีวิตแบบบำนาญ ได้ลดสูงสุด 200,000 บาท
7. กองทุน LTF/RMF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวม
8. เงินกองทุนเลี้ยงชีพ ได้ไม่เกิน 500,000 บาท
9. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท ถ้าเกิดมีการผ่อนบ้าน คอนโดจะเอาส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมาลดหย่อน ไม่ใช่ส่วนที่ผ่อนไปนะครับเพราะผ่อนไปมีเงินต้นติดไปด้วย
10. เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม มากสุดอยู่ที่ 750 บาท/เดือน ปีนึงก็ 9,000 บาท
11. เงินลดหย่อนบิดามารดา กรณีบิดามารดาอายุเกิน 60ปีและไม่มีรายได้ ได้ลดหย่อนท่านละ 30,000 บาท
12. เงินบริจาคการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
13. เงินบริจาค เมื่อหักลดหย่อนต่าง ๆ หมดแล้ว เหลือเท่าใดให้หักลดหย่อนได้อีกสำหรับ เงินบริจาค เงินบริจาคที่หักค่าลดหย่อนได้นั้นผู้มีเงินได้ต้องบริจาคเป็นเงินให้แก่การกุศลสาธารณะ โดยหักได้ เท่าจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว
14. หากสามีภรรยาทั้งคู่มีรายได้เยอะ อาจลองเปรียบเทียบการแยกยื่นภาษีดู หรือว่าหากมีรายได้จากคนเดียวและมีการลงทุนในหุ้นด้วย อาจลองเอาคนที่ไม่มีรายได้เป็นเจ้าของพอร์ตหุ้นแทนเพราะเงินปันผลที่ได้มาจะได้เครดิตภาษีคืนได้อีก
15. เครดิตภาษีจากเงินปันผล (กรณีที่มีปันผลจากหุ้น)
หลักการลดหย่อนไม่ได้เอาเงินจำนวนนี้ไปลดหย่อนโดยตรงกับภาษีที่ต้องเสียนะครับ แต่เอาไปลดกับรายได้รวมที่เราได้ทั้งหมดทั้งปีครับ บางคนเข้าใจว่าลดหย่อนได้เท่านั้นเท่านี้เอาไปลบกับภาษีเลย อันนี้ไม่ใช่นะครับ เป็นยังไงบ้างครับ จะสิ้นปีกันแล้วยังไงอย่าลืมวางแผนลดหย่อนภาษีนะครับ
Mr.N
#yesclub #ลดหย่อนภาษี #วางแผนภาษี
ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ ผมเองไม่ค่อยได้ใส่ใจเรื่องนี้เลย ช่วงนี้ก็เริ่มเล็งๆเอาไว้บ้างแล้ว
ตอบลบ