วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

การเปิดพอร์ตหุ้น

การเปิดพอร์ตหุ้น



ก่อนจะเริ่มการลงทุนในหุ้น เราจำเป็นต้องมีบัญชีกับทางบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรคเกอร์ก่อนเพื่อที่โบรคเกอร์จะเป็นตัวกลางในการซื้อขายให้เรา นักลงทุนไม่มีสิทธิ์ติดต่อซื้อขายโดยตรงกับนักลงทุนอีกฝั่งนึง ดังนั้นจึงต้องมีตัวกลางขึ้นมาเป็นตัวช่วยในการจับคู่ ดังนั้นจำเป็นต้องมีโบรคเกอร์อย่างน้อยหนึ่งที่ก่อนจะเริ่มลงทุนนะครับ



ส่วนตัวแล้วแต่ละบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรคเกอร์นั้นให้บริการแบบเดียวกัน และค่าคอมมิสชั่นที่ต้องเสียนั้นก็แทบจะไม่แตกต่าง แต่ค่าคอมมิสชั่นจะแตกต่างเล็กน้อยระหว่างการซื้อขายหุ้นออนไลน์หรือ และซื้อขายโดยผ่านมาร์เก็ตติ้ง (จะมีรายละเอียดแตกต่างกันนิดหน่อยระหว่างโบรคเกอร์) สิ่งที่แตกต่างกันจะเป็นเรื่องของบทวิเคราะห์ และการบริการของมาร์เก็ตติ้งที่มาดูแลเรา นอกจากนี้สถานที่ตั้งก็อาจจะแตกต่างครับแต่คงไม่เป็นประเด็นมากหากเราไม่ได้ไปที่สาขาเพื่อทำการเทรดหุ้นทุกวัน



และสำหรับความปลอดภัยสำหรับหุ้นของเราที่ลงทุน ก็ไม่ต้องกังวลนะครับเพราะทางโบรคเกอร์เป็นแค่ตัวกลางเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนในการเก็บหุ้นเราเอาไว้ดังนั้นเรื่องความปลอดภัย หายห่วงครับ



ทีนี้เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นผมเอา Top10 บริษัทหลักทรัพย์ (ณ วันที่ 4 กันยา2557) ที่มียอดสั่งซื้อขายจากนักลงทุนมากสุดมาให้ดูกันครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าโบรคเกอร์ที่มีส่วนแบ่งเยอะที่สุดจะดีที่สุดครับเป็นแค่ข้อมูลในการตัดสินใจ (ส่วนตัวผมเปิดไว้หลายๆที่ครับแต่ใช้ซื้อขายกับที่เดียว ส่วนที่เหลือเปิดไว้จะได้เอาบทวิเคราะห์ไว้อ่าน)



1 MBKET ส่วนแบ่งการตลาด 11.61%

2 BLS ส่วนแบ่งการตลาด 7.01%

3 KSMACQ ส่วนแบ่งการตลาด 5.42%

4 CIMBS ส่วนแบ่งการตลาด 5.34%

5 ASP ส่วนแบ่งการตลาด 4.88%

6 FSS ส่วนแบ่งการตลาด 4.64%

7 KGI ส่วนแบ่งการตลาด 4.40%

8 PHATRA ส่วนแบ่งการตลาด 4.35%

9 SCBS ส่วนแบ่งการตลาด 4.10%

10 TNS ส่วนแบ่งการตลาด 3.63%

ส่วนจะเปิดที่ไหนดีสำหรับผมคิดว่าไม่ต่างกันครับ ดังนั้นแล้วแต่จะสะดวกแต่ละคนดีกว่า เพราะว่าสุดท้ายแล้วการลงทุนหากเราตัดสินใจเอง วิเคราะห์เองแล้ว จะโบรคเกอร์ไหนก็แทบไม่แตกต่างกันครับ



สำหรับประเภทบัญชี ทางตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดประเภทบัญชีไว้ทั้งหมด 5 บัญชีตามนี้ครับ



ประเภทบัญชี


บัญชีเงินสด (Cash Account)


เป็นบัญชีที่ต้องชำระค่าหลักทรัพย์เต็มจำนวนด้วยเงินสด โดยโบรกเกอร์จะพิจารณาอนุมัติวงเงินที่นักลงทุนจะสามารถ ใช้ซื้อหลักทรัพย์จากหลักฐานการเงิน แต่จะต้องฝากเงินเพื่อเป็นหลักประกัน (15%) ทั้งนี้จะต้องชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ซื้อหลักทรัพย์ซึ่งนักลงทุนสามารถโอนเงินหรือตัดเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารอัตโนมัติ (ATS) ส่วนในกรณีที่ขายหลักทรัพย์นักลงทุนจะได้รับชำระค่าขายหลักทรัพย์จากโบรกเกอร์ภายใน 3วันทำการนับจากวันที่ขายหลักทรัพย์เป็บัญชีที่ต้องนำเงินสดเข้าฝากในบัญชี และจะทำการซื้อขายโดยจะเป็นการหักเงินในบัญชีที่ได้ทำการฝากเอาไว้ ทุกครั้งที่จะต้องนำเงินออกจากบัญชีหรือฝากเข้าเพิ่ม จำเป็นต้องติดต่อกับทางโบรคเกอร์



บัญชีเงินฝาก (Cash Balance Account – เริ่มต้น 5000 บาท)


เป็นบัญชีที่นักลงทุนสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้เท่ากับจำนวนเงินที่นำมาฝากไว้กับทางโบรกเกอร์ก่อนการซื้อหลักทรัพย์ ทั้งนี้เงินฝากของนักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามอัตราที่โบรกเกอร์กำหนด



บัญชีเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance Account)


เป็นบัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเสียอัตราดอกเบี้ยตามที่โบรกเกอร์กำหนดโดยนักลงทุนจะต้องวางเงินสดหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นประกัน



บัญชีตราสารอนุพันธ์


เป็นบัญชีสำหรับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท Futures หรือสัญญา Optionsซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX) ทั้งนี้ นักลงทุนต้องวางเงินหลักประกัน ก่อนการลงทุนและอาจถูกเรียกหลักประกันเพิ่มหากระดับเงินประกันลดต่ำกว่าอัตราที่กำหนด



เอกสารที่ต้องใช้


· สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรข้าราชการ หรือหนังสือเดินทาง

· สำเนาทะเบียนบ้าน

· สำเนาใบแจ้งรายการบัญชีธนาคารหรือสำเนาสมุดเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน

· แบบคำขอให้หักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (ATS)

· ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท



สุดท้ายนี้หากคุณเองสะดวกเปิดบัญชีกับที่ไหน เปิดบัญชีประเภทใด ก็สามารถทำได้ อาจจะใช้เวลาในการเปิดบัญชีประมาณ 1-2อาทิตย์ครับ และรายละเอียดต่างๆสามารถสอบถามกับทางบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรคเกอร์ได้อีกทีครับ



Mr.N



#Yesclub #เปิดบัญชีหลักทรัพย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น