มีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ หลายท่านเข้ามาปรึกษาเรื่องเกี่ยวกับภาษี
จากคำถามเหล่านั้นผมพบว่าหลายท่านยังเข้าใจสับสนระหว่างภาษีหลายๆ ขนิด จากการที่ผมเคยทำงานประจำ
เคยทำงานบริษัททางการเงิน และปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัว มีบริษัทเป็นของตัวเองนั้น
ประกอบกับเคยได้รับบทเรียนซึ่งเป็นค่าปรับทางภาษีจำนวนสูงพอสมควร
(ถือว่าเป็นค่าเล่าเรียน) ผมตั้งใจจะเขียนบทความนี้ให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องภาษีแบบง่ายที่สุด
และใช้คำบรรยายภาษากฏหมายให้น้อยที่สุด (หรือไม่ใช้เลย)
เพื่อให้บทความนี้เป็นคู่มือสำหรับท่าน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ
ก่อนอื่นต้องขอให้ท่านลืมเรื่องที่เคยรู้มาทั้งหมด
หรืออคติว่าผมจะรู้มากน้อยแค่ไหน กรุณาอย่าจับผิดอะไรผมเลย เพราะผมไมได้เรียนจบกฏหมายโดยตรง
ไม่สามารถตีความตามข้อกฏหมายได้
แต่เขียนจากมุมมองของผู้ที่ต้องทำตามหน้าที่ในกฏหมาย
และจะเขียนเท่าที่ผมเคยเจอและรู้มา
บทความนี้จะเหมาะสำหรับคนที่มีรายได้เป็นเงินเดือน เงินปันผลจากหุ้นหรือบริษัท
และรายได้จากการค้าขาย เป็นหลักขอให้อ่านตามผมไปทีละสเตป ผมจะเริ่มจากประเด็นหรือคำถามให้หายสงสัย
จากนั้นค่อยวาดแผนผังทางภาษีให้เข้าใจง่ายๆ แบบใหม่ให้
หากมีตรงไหนที่ท่านคิดว่าไม่เคลียร์ หรือผมเข้าใจผิด สามารถแชร์กันได้เลยนะครับ
1.
เราไม่ต้องยุ่งเรื่องภาษีได้มั้ย
ก่อนอื่นขอปรับทัศนคติของท่านก่อนเลยนะครับ ผมไม่อยากให้ท่านคิดว่าภาษีเป็นเรื่องของบัญชี
ที่ปรึกษา ธนาคาร หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ขายประกันหรือ LTF เลยครับ บางท่านก็เข้าใจว่ายังไงการเสียภาษีก็เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ
แต่ไม่อยากทำเพราะยุ่งยาก สับสน ไม่ชอบตัวเลข หรือที่สำคัญ
กลัวทำผิดแล้วโดนสรรพากรสอบย้อนหลัง เรื่องนี้ แต่ครั้นจะมาศึกษา
เราก็เจอภาษากฏหมายที่เป็นภาษาที่เข้าใจยากจริงๆ (ไม่ว่าประเทศไหน)
ยิ่งทำให้เราไม่อยากทำไปอีก ผมอยากให้ท่านมองว่าภาษีก็เหมือนค่าไฟ ค่าน้ำ
ค่าโทรศัพท์ที่ท่านต้องเสียเป็นประจำ ในเมื่อรายได้เป็นของเราภาษีเป็นตัวทำให้รายได้เราลดลง
เหตุใดจึงต้องไว้เนื้อเชื่อใจคนอื่น โดยการไม่ศึกษาด้วยตัวเองล่ะครับ
2.
ทำไมรัฐฯต้องเก็บภาษี
ไม่ว่าประเทศไหนก็ต้องการเก็บภาษีเพื่อเอาไปใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ
ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นของชีวิต ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ
เหมือนท่านกำลังอยู่ในบ้านเช่าที่มีขนาดใหญ่ (ประเทศที่เราอาศัยอยู่)
เมื่อท่านมาอยู่อาศัย เจ้าของบ้านจะเอาเงินที่ไหนมาเลี้ยงท่าน
ค่าน้ำค่าไฟที่ท่านใช้ ใครจะจ่ายถ้าไม่ใช่ท่าน
เพราะฉะนั้นในเมื่อเราเกิดมาและอาศัยในประเทศไหนก็ตาม
เราก็ต้องมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้ประเทศนั้น หากท่านย้ายบ้าน
ท่านก็ต้องไปยอมรับกฏของบ้านใหม่ (ประเทศอื่น) นั่นเอง
3.
ภาษีไม่เกี่ยวอะไรกับฉัน
เพราะฉันมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษี หรือไม่มีรายได้
ตามหลักการทั่วไปที่เราเข้าใจคือผู้ที่มีรายได้ก็ต้องเสียภาษี
เพราะถือว่าใช้ประโยชน์จากการอาศัยอยู่ในประเทศสร้างรายได้ รัฐจึงขอส่วนแบ่ง
ผู้ที่มีรายได้จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษี เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐฯ
ก็เกรงว่าประชากรจะขี้เกียจจากการไม่ทำมาหากิน
ไม่อยากมีรายได้เพื่อจะไม่ต้องเสียภาษี รัฐฯ
จึงนำระบบภาษีอีกชนิดก็คือภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้
เก็บภาษีจากการใช้จ่ายด้วยอีกทางหนึ่ง ทุกบาทที่ท่านซื้อไป ไม่ว่าจะเป็นลูกอม 3
เม็ดบาท หรือ กระทิงแดงหนึ่งขวด ท่านก็ได้เสียภาษีให้รัฐโดยไม่รู้ตัวแล้ว บางท่านที่กำลังคิดว่าถ้าไม่มีรายได้
และไม่ได้ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือยื่นแล้วรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียแปลว่าไม่ได้เสียภาษี
ท่านอาจจะกำลังเข้าใจผิดก็ได้นะครับ
วันนี้ขอเล่าเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ ตอนหน้าจะขอพูดถึงประเภทของบุคคลที่ต้องเสียภาษีว่ามีอะไรบ้าง
#KAL #YESCLUB #TAX #VAT #ภาษี #ลดหย่อนภาษี #LTF #RMF
ฤดู LTF และ
RMF เรามารู้จัก LTF และ
RMF กันครับ
เลือกกองทุน LTF อย่างไรดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น